ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาววรรวิภา โพธิ์งาม รายวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย ค่ะ

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินสัปดาห์ที่ 11

วันจันทร์ที่  21 มีนาคม 2559 (ชดเชย 14 มีนาคม 2559)
เวลาเรียน  14.30 -17.30 น.







เรื่อง : ทดลองสอนเสริมประการณ์ของวันจันทร์และเคลื่อนไหวของวันอังคาร
             



cubeani01.gif image by MMEEWW  กลุ่มที่ 1 ผีเสื้อ 

  1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

  • เคลื่อนไหวและจังหวะไม่ต้องเอาแผ่นชาร์ทมาแล้ว เพราะเด็กต้องเรียนรู้ตั้งแต่วันจันทร์แล้ว 
  • จุดเน้นอยู่ที่เคลื่อนไหว อยู่ที่ร่างกาย
  • อาจจะไม่ต้องให้เด็กนับ 1-3 ไปตลอดทุกครั้งแต่อาจจะให้เด็กๆเคลื่อนไหวและให้เด็กจับกลุ่ม 3 คน
  • ใช้เพลงควรเป็นเพลงที่เด็กร้องได้แล้ว
  • การเเบ่งกลุ่มให้เด็กอาจจะให้เด็กกลุ่ม 1 ทำท่า 2.ให้จังหวะ 3.ร้องเพลง สลับกันไปในแต่ละกลุ่ม โดยเรียงจากซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้าย
  • ควรร้องพร้อมกันก่อน และกำกับจังหวะ และออกแบบท่าทาง
  • กลุ่มที่ให้จังหวะควรมีเครื่องดนตรีกับเด็กด้วย
  • เวลาผ่อนคลายให้เด็กใช้เวลาน้อยๆไม่ต้องเยอะ
     2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
  • เวลาเขียนชนิดลงแผ่นชาร์ทให้ใช้คนละสี หรือไม่ก็ทำแบบสำเร็จรูปมาแล้วมาแปะ
  • เวลาสอนชนิดให้เอาแค่2-3ชนิด แค่เพียงมี 1 ชนิด ที่มีมากกว่าเท่านั้นเอง
  • ตอนแยกออกจากกลุ่มเด็กได้สังเกตและแยกแยะหมวดหมู่
  • เมื่อแยกออกเด็กๆลองสังเกตสิคะ ว่ามีมากกว่าเดิมหรือน้อยกว่าเดิม
  • ผีเสื้อกระท้อนกับผีเสื้อที่ไม่ใช่ผีเสื้อกระท้อน โดยแยก 1:1
  • ผีเสื้อกลุ่มไหนที่ยังเหลืออยู่คะ หรือ ผีเสื้อกลุ่มไหนที่หมดก่อน เด็กตอบ ผีเสื้อที่ไม่ใช่ผีเสื้อกระท้อนที่เหลืออยู่ แสดงว่าผีเสื้อไม่ใช่ผีเสื้อกระท้อนมีมากกว่าผีเสื้อกระท้อน
    cubeani02.gif image by MMEEWW  กลุ่มที่ 2 เห็ด
    1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
    • ทำออกมาได้ดี ทำมาแล้วต้องใช้ได้จริง
    • ใช้เพลงได้เป็นประโยชน์
    • ฝึกร้องให้ตรงทำนองอีกนิดเดียว
    • เสียงดังแต่จริงใจ
      เพลง ส่วนประกอบของเห็ด
    เห็ด มีหมวกอยู่บนหัว 
    ตรงลำตัว เขาเรียกว่าก้าน
    ด้านใต้หมวกนั้นมันคือครีป
    มีทั้งต้นลีบและต้นอ้วน
    ทั้งหมด ล้วนคือเห็ดเอย
                                                                                                                 วรรวิภา โพธิ์งาม 
                                                                                                                   ภัสสร ศรีพวาทกุล  
                                                                                                                 ผู้แต่ง ,ทำนอง
         2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
    • การแยกเพื่อไปติดบนกราฟ เป็นสาระที่5เพราะมีการนำเสนอข้อมูล
    1. เด็กๆทายสิคะวันนี้ครูมีอะไรมา เด็กตอบ เห็ด ครูบอกเห็ดจริงรึป่าวน๊า เปิดผ้าออก อันนี้เห็ดอะไร เด็กรู้เด็กจะตอบ แต่ถ้าชนิดไหนเด็กไม่รู้ให้บอกว่าเด็กๆพูดตามคุณครูนะคะ เห็ด .....
    2. เด็กๆทายสิคะ ว่าเห็ดที่คุณครูนำมามีกี่ดอกนะ ร่วมกันนับและวางตัวเลข ตัวเลขที่เกิน10 เช่น11 12 13 ให้เขียนมาป้ายเดียวเลยไม่ต้องแยกมาเป็น 2 เลข
    3. ครูอยากรู้จังเลยว่าเห็ดทั้งหมดมีกี่ชนิด ครูจับแยกลงแผงไข่แต่ละชนิด แล้วนับทีละชนิดแล้วค่อยเอาเลขมาวาง
    4. พิสูจน์โดยให้เด็กนำเห็ดมาติดกราฟตามจำนวนเห็ด ขณที่เด็กไปติดกราฟ ครูเอาเห็ดที่ปักอยู่ที่แผงไข่ออกพร้อมกับเด็กด้วย
    5. จากนั้นครูเอาออก 1:1
    - เด็กๆดูซิคะ เห็ดอะไรมีน้อยที่สุด ครูหยิบออก เห็ดเข็มทองหมดก่อน แสดงว่าเห็ดเข็มทองมีน้อยที่สุด
          6.  จับ 1:1
    -เด็กๆดูซิคะว่าเห็ดอะไรที่ยังเหลืออยู่ เด็กตอบเห็ดหอม แสดงว่าเห็ดหอมมีมากที่สุด
    สรุป เห็ดนางฟ้ามีน้อยกว่าเห็ดหอมแต่มีมากกว่าเห็ดเข็มทอง
          7. สรุปใน map เห็ดตรงชนิด และร้องเพลงอีก 1 รอบ
                                                                  เพลง ชนิดของเห็ด
     ชนิดของเห็ดนั้นมีมากมาย
    เด็กๆทั้งหลายควรเรียนรู้กัน
    เห็ดหลินจือ เห็ดนางฟ้า เห็ดหอม
    อีกเห็ดเข็มทอง เห็ดหูหนูนั้น
    เด็กๆมาเรียนรู้กัน (ซ้ำ)
    เห็ดเหล่านั้นล้วนกินได้เอย
                              
    วรรวิภา โพธิ์งาม ผู้แต่ง ,ทำนอง
    cubeani05.gif image by MMEEWW  กลุ่มที่ 3 ผัก
    1. เคลื่อนไหวและจังหวะ
    • เคาะจังหวะได้ชัดเจน
    • การเดินอาจจะเปลี่ยนบ้าง เช่นเดินด้วยส้นเท้า ปลายเท้า
    • หลังที่ครูทบทวนเพลง ครูเรียกเด็กออกมา 1 คน ทำท่านำเพื่อนๆ  เพื่อให้ได้ท่าที่แปลกใหม่ คนเป็นครูไม่ควรเต้นให้ดูก่อน เพราะเด็กจะไม่คิดและจะทำตามครูอย่างเดียว
    • ไม่ต้องเรียกเด็กออกมาทั้งหมด เพราะจะกินเวลา
         2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
    • ให้มีแผ่นชาร์ทมาเขียนชนิดของผักและค่อยถามเด็กเกี่ยวประสบการ์เดิม
    • ให้แยกกินใบกับไม่กินใบ จะได้มีเกณฑ์ในการเลือกเพียงอย่างเดียว
    • การวางไม้ตัวเลขหรือสิ่งที่กำกับให้วางทางซ้ายมือของครูหรือขวามือของเด็ก
    • การวางไม้แยกแต่ละชนิดให้เริ่มปักวางทางซ้ายมือของเด็กเรียงไปเรื่อยๆ
        cubeani10.gif image by MMEEWW  กลุ่มที่ 4 กล้วย 


        1.  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
        • ทำไมเมื่อเด็กกำลังวิ่งเร็วๆและเราเคาะให้เด็กหยุดกระทันหัน ก็เพราะว่าเราอยากให้เด็กได้ฝึกการทรงตัว
              2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
        • เมื่อแยกออกจากกลุ่มใหญ่ ให้เด็กๆได้สังเกตว่ากล้วยมีจำนวนเท่าเดิมหรือลดลง
        • เด็กๆดูซิคะ กลุ่มกล้วยหอมและกลุ่มที่ไม่ใช่กล้วยหอมกลุ่มไหนมีมากกว่ากันคะ
        • เรามาพิสูจน์กันโดยการจับ 1:1  การหยิบ 1:1 สมมติมีกลุ่มกล้วยหอมกับไม่ใช่กล้วยหอม ให้เด็กหยิบกลุ่มกล้วยหอมมา1อันและค่อยหยิบไม่ใช่กล้วยหอมมา 1 อัน และนำออกมาวางพร้อมกันเพื่อให้แสดงเห็นถึงกล้วยที่เหลืออยู่
                                                                        
                                      
        cubeani11.gif image by MMEEWW  กลุ่มที่ 5 ส้ม
        1.  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
        • สิ่งที่ต้องปรับปรุง เรื่องการเคาะให้จังหวะ
        • กิจกรรมพื้นฐาน การบอก การสั่ง ต้องชัดเจน
        • เคลื่อนไหวพื้นฐานต้องมีแค่จังหวะช้ากับเร็วเท่านั้น
             2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
        • ควรเตรียมส้มใส่ตะกร้ามา ไม่ควรใส่ถุงพลาสติก
        • ถ้าไม่เข้าใจลำดับการสอนให้มาหาอาจารย์ 



        cubeani08.gif image by MMEEWW  กลุ่มที่ 6 ยานพาหนะ 
          1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
          • กิจกรรมพื้นฐาน อาจจะให้เด็กเปลี่ยนทิศทางบ้าง เพื่อที่เด็กจะได้ไม่เบื่อ
          • เมื่อจะให้เด็กหยุด ต้องเคาะสัญญาณให้เด็กฟังเสมอ
               2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์

          • เมื่อเอาสิ่งของออกจากกล่องรวมปุ๊บคืออะไร รถยนต์ วางใส่กล่องทางบก แยกจนครบแล้วค่อยนับ เอาตัวเลขมาวาง แล้วไปพิสูจน์ที่กราฟ
          • เดี๋ยวเรามาดูซิว่า ยานพาหนะทางไหนมีจำนวนมากที่สุด
          -ใช้คำว่า *มากที่สุด* เมื่อมีมากกว่า 2
          -คำว่ามากกว่าเปรียบเทียบแค่ 2 อัน / มากที่สุดเพราะมีมากกว่า 2 อัน
          • จับ 1:1 ทางน้ำหมดก่อนแสดงว่าทางน้ำน้อยที่สุด
          • จับ 1:1 ปรากฎว่าทางบกยังเหลืออยู่ แสดงว่าทางบกมากที่สุด
          • สรุป ทางอากาศมีน้อยกว่าทางบก แต่มีมากกว่าทางน้ำ
          สิ่งที่ควรปรับปรุง
          1. แผ่นประสบการณ์เดิมให้เปลี่ยนเป็น ยานพานะและแยกชนิด
          2. ให้เด็กเห็นก่อนว่ามีอะไรบ้าง มีจำนวนเท่าไร และเอามานับ ให้เด็กบอกชื่อ
          3. เกณฑ์ คือ สถานที่ มี ทางน้ำ ทางบก ทางอากาศ
          4. เอาไปติดกราฟ เด็กๆดูซิทางบกมีเท่าไร
          5. เด็กๆดูซิอะไรมีน้อยที่สุด 1:1 
          -ปรากฎว่าทางน้ำหมดแล้วแสดงว่าทางน้ำมียานพาหนะน้อยที่สุด
          -ทางบกยังเหลือ แสดงว่าทางบกมากที่สุด
          -ทางอากาศน้อยกว่าทางบกแต่มากกว่าทางน้ำ
              6. สรุป เอาแมพที่แยกชนิดยานพาหนะไว้มาทบทวน
          การนำไปใช้

          นำวิธีการสอนและขั้นตอนต่างๆไปใช้ในชีวิตจริง ปรับเปลี่ยนบ้างเพื่อที่เด็กจะได้ไม่เบื่อแต่ไม่ทิ้งกระบวนการ
                  
          การประเมิน
          ตนเอง -  วันนี้ยังมีข้อบกพร่องอยู่ตรงที่เตรียมการมายังไม่ดีพร้อม แต่ก็สอนรู้เรื่องอยู่เพียงแค่ลืมวิธีการพูด
          เพื่อน - ทุกคนยังมีข้อบกพร่องอยู่เพียงเล็กน้อย ถ้าได้ฝึกฝนบ่อยๆ ก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ
          อาจารย์ -  ให้คำแนะนำเสมอ แนะแนวในส่วนที่ยังบกพร่อง และเติมเต็มในส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง






          ไม่มีความคิดเห็น:

          แสดงความคิดเห็น