ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาววรรวิภา โพธิ์งาม รายวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย ค่ะ

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินสัปดาห์ที่ 14

วันจันทร์ที่  4 เมษายน 2559
เวลาเรียน  14.30 -17.30 น.

เรื่อง : เสริมประสบการณวันพฤหัสบดี

005-34.gif image by MMEEWW  กลุ่มที่ 1 ผีเสื้อ 
  1. วันพฤหัสบดี
  • ตัวหนังสือไม่เท่ากัน
  • ข้อควรระวัง เด็กอาจบอกเพิ่มให้เขียนเป็นสีแดง
  • นิทานผีเสื้อผจญภัย
           - ทำไมมีดอกไม้เยอะเลย  / พอดูดน้ำหวานละอองเกสรติดขา กลายเป็นผสมพันธ์เกสร / โดนขนผีเสื้อ แพ้ คัน เป็นผื่น
  • ถามประโยชน์คืออะไร ก็บันทึก "นอกจากในนิทานมีประโยชน์อะไรอีก"
  • เมื่อมีของมาวาง ให้วางเรียงกันเป็นแถวให้เด็กได้เห็นทุกชิ้น เช่น จากความงามของผีเสื้อ ทำให้คนเกิดไอเดีย ทำพวงกุญแจผีเสื้อ / เด็กๆลองดูซิคะ ในสมุดมีรูปอะไรบ้าง เพราะผีเสื้อสวยเลยออกแบบ คนจะได้ซื้อ /เด็กๆเห็นไหมคะว่าเราจะเห็นว่าของหลายๆแบบจะเป็นรูปผีเสื้อ เพราะผีเสื้อมีความสวยงาม / เด็กๆรู้ไหมของเหล่านี้มาจากไหน เด็กตอบโลตัส เห็นไหมคะของเหล่านี้ทำให้คนมีอาชีพ เช่นค้าขาย เมื่อขายของก็มีรายได้
  • มีรูปมาแปะในส่วนประโยชน์และข้อควรระวัง
  • ประโยชน์ให้เขียนเรียงลำดับ จัดลำดับการมาก่อนหลัง เช่น เกิดอาชีพแล้วค่อยมีรายได้
  • เพลง ไม่ใช่ขั้นนำ นั่นคือการเตรียมการ
       005-35.gif image by MMEEWW กลุ่มที่ 2 เห็ด
      1. วันพฤหัสบดี
      • การติดกราฟอาหาร ให้เอาออก 1:1:1 แล้วมาสรุปว่าอะไรหมดก่อน เช่น
      แกงเห็ดน้อยที่สุด บรรทัดที่ 1
      ส่วนยำเห็ดน้อยกว่าเห็ดทอดแต่มากกว่าแกงเห็ด บรรทัด 2
      เห็ดชุบแป้งทอดมากที่สุด บรรทัด 3
      • หัวข้อที่ติดกราฟเขียนว่าการสำรวจผู้ที่ต้องการประกอบอาหารจากเห็ด
      • เมนูที่เด็กๆต้องการจะทำคือ เห็ดชุบแป้งทอด

      • ทุกครั้งที่สอนสำรวจอาจจะเปลี่ยนสัญลักษณ์ในการแปะบ้างเพื่อความน่าสนใจ

      • ควรทำบล็อกของตารางสรุปประโยชน์และข้อพึงระวังไว้ เพื่อที่จะได้ใช้งานบ่อยๆ อย่างเช่นกราฟแสดงจำนวน

      • พื้นหลังนิทานอาจทำให้มันดูมิติทำให้มันนูนขึ้นมา

      • ขาของตัวละครอาจจะมีโฟมมาคอยเสียบอยู่เพื่อความสะดวกการถือของครู

      • ในนิทานควรมีบทสนทนา ตัวละคร ให้มีบทพูดกันบ้าง ไม่ควรเล่าเองจนจบ

      • ให้พูดซ้ำๆตอนที่เด็กเจอเห็ดพิษ เพื่อให้เด็กได้ฟังและจำได้
      • อะไรที่สำคัญย้ำเยอะๆ ตรง ช้อนเป็นสีดำเป็นต้น
      • คำว่าเห็ดให้ใช้สีแดง / ตัวหนังสืออาจจะเอามาแปะทีหลังทำแบบสำเร็จรูปไว้ ตัวหนังสือให้ใหญ่หน่อย
      • ประโยชน์มีภาพมาติด แตกออกไปให้เยอะๆ เช่น เห็ดประกอบอาชีพ เช่น ค้าขาย

      • ข้อพึงระวัง เมื่อเห็นเห็ดที่ไม่แน่ใจ มีสีสันแปลกๆ ให้ถามครู/ผู้ใหญ่ก่อน
      • ระวังอย่ารับประทานเห็ดที่มีพิษ เพราะจะทำให้มึนศรีษะ อาเจียน คลื่นไส้ และทำให้เสียชีวิตได้
      • ถ้าเมื่อไรที่เผลอกินเห็ดมีพิษไปแล้วให้รีบไปโรงพยาบาล
      • ประโยชน์ในช่องควรให้ตรงกับสาระที่ต้องเขียน
      • ลำดับการสอน เล่านิทาน  เขียนประโยชน์-ข้อพึงระวัง  ดูสถิติการอยากทำอาหาร  สรุป
       005-36.gif image by MMEEWW กลุ่มที่ 5 ส้ม
      1. วันจันทร์ ชนิดของส้มเสริมประสบการณ์
      • ถามส้มอะไร เมื่อเอาออกจากตระกร้า

      • เอามาวางเรียงพร้อมบอกชื่อทีละอัน แล้วนำเลขมาวาง ว่าทั้งหมดมีส้มกี่ผล "เดี๋ยวคุณครูจะแยกส้มโอออกนะคะ"
      • แยกส้มโอออกเพราะส้มโอมีเยอะที่สุด แยกออก ปักแยก เรียงไว้ "เด็กๆดูซิคะว่ายังมีส้มโอเหลืออยู่อีกมั้ย" ให้เด็กๆออกมาหยิบ ออกมามีส่วนร่วม (การแยกเพื่อให้กลุ่มใหญ่มันน้อยลง)
      • ส้มโอกับไม่ใช่ส้มโออะไรมากกว่ากันคะ 
      • จับ 1 :1 เอาส้มโอออก1 ไม่ใช่ส้มโอออก1
      • ส้มโอยังเหลืออยู่แสดงว่าส้มโอมากกว่าไม่ใช่ส้มโอ
      • สรุป ในมายแมพว่าวันนี้เด็กๆรู้จักส้มอะไรบ้าง / ท่องคำคล้องจองอีกรอบ จบ

        005-34.gif image by MMEEWWกลุ่มที่ 6 ยานพาหนะ 
      1. วันพฤหัสบดี 
      • อาชีพ แตกออกไปเป็นรับจ้าง / ขายรถ
      • เดินทาง แตกไปมีท่องเที่ยว / ใช้ในชีวิตประจำวันเช่นไปทำงาน ไปซื้อของ
      • ใช้ในการขนส่ง เช่นส่งสินค้า , น้ำมัน ,ไปรษณีย์
      • ใช้นิทานมาในส่วนของประโยชน์จะเหมาะกว่า
      • ให้แตกแมพในส่วนของประโยชน์


      การนำไปใช้
      ลักษณะของการใช้คำถาม เพื่อทำให้การสอนราบรื่น
      กราฟหรือแผ่นชาร์ทต่างๆถ้าทำแบบถาวรได้จะดีมากเพื่อไว้ใช้หลายๆงาน



      การประเมิน
      ตนเอง -  ถึงแม้จะสอนของวันตนเองหมดแล้วแต่ก็ยังมาเรียนและมาให้กำลังใจเพื่อนที่สอนในวันนี้ คอยจดบันทึกข้อมูลเพิ่มเตอมต่างๆสิ่งที่ต้องแก้ไขหรือปรับปรุงของวันนั้นๆที่เพื่อนๆสอน
      เพื่อน -  ให้ความร่วมมือกันดีมากเพราะมากันน้อย คนสอนก็เตรียมการมาดี
      อาจารย์ - คำสอนและคำแนะนำต่างๆของอาจารย์ล้วนมีประโยชน์แก่ศิษย์เสมอ ศิษย์จะจำและนำไปใช้ให้ถูกต้อง


      ไม่มีความคิดเห็น:

      แสดงความคิดเห็น