วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559
เวลาเรียน 14.30 -17.30 น.
เวลาเรียน 14.30 -17.30 น.
วันนี้อาจารย์นำแผนของแต่ละกลุ่มขึ้นฉายผ่านโปรเจคเตอร์ เพื่อดูละองค์ประกอบของ Map แต่ละกลุ่ม เป็นการตรวจและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเป็นรายกลุ่มไปพร้อมกันด้วย
1.กลุ่มผีเสื้อ
- ในส่วนของการเขียนของเรื่องส่วนประกอบและลักษณะของผีเสื้อยังไม่ถูกต้องและควรเพิ่มเติมข้อมูลลงไปให้ครบ
- ห้ามสอนในส่วนของความหมายก่อนเพราะจะเป็นการบอกเด็ก
- ใช้การร้องเพลง คำคล้องจอง นิทาน เข้ามาร่วมกับการสอนด้วย
- ปัจจัยในการดำเนินชีวิตของผีเสื้อ ควรรวมกับอาหารและที่อยู่
2.กลุ่มผัก
- ในส่วนของชนิดให้ใส่เป็น กินดอก กับไม่ดอก
- เรียงจัดวาง Map ให้ถูกต้อง จัดหมวดหมู่และประเภทให้ถูก เสริมกลิ่นและส่วนประกอบ ยิ่งแตกมากเท่าไรยิ่งดี เช่นเรื่องกลิ่น เหม็น ฉุน ฉาบ เปรี้ยว เพิ่มรสชาติ จืด ขม ฝาด เฝื่อน พื้นผิว เรียบ หยาบ ขรุขระ
- การเจริญเติบโต การขยายพันธุ์ แล้ววงจรจะปรากฎ
- ประเภทให้เขียน เห็ดกินได้ กับ เห็ดกินไม่ได้
- วันที่ 3 การดำรงชีวิตและการขยายพันธ์ุจะเป็นจุดเด่นของเห็ด
- ข้อควรระวังเห็ดที่กินไม่ได้ จะมีวิธีการดูอย่างไร เช่นควรให้ผู้ใหญ่ดูก่อน
- เพิ่มเติมเรื่องกลิ่น หอม ฉุน เหม็นเปรี้ยว เหม็นเค็ม
- ในแผ่นร่าง Map ให้เขียนดีๆ สวยๆ
4.กลุ่มกล้วย
5.กลุ่มยานพาหะนะ
6.กลุ่มส้ม
- เพิ่มเติมในส่วนประกอบ
- วันที่ 3 จะเป็นการถนอมหรือการเลือกซื้อก็ได้
- การแปรรูปจะอยู่ในส่วนของประโยชน์
- เปลี่ยนหัวข้อวันที่แปรรูปเป็นข้อควรระวัง
5.กลุ่มยานพาหะนะ
- เพิ่มประเภท
- ขยายในส่วนประกอบ ไปแตกเพิ่ม
- วันที่3 การใช้พลังงาน เช่น พลังงานลม แสงอาทิตย์ น้ำมัน พลังงานตนเอง พลังงานไฟฟ้า และการดูแลความปลอดภัย
- วันที่4 ประโยชน์สร้างรายได้ สร้างอาชีพ แตกย่อยลงไปอีก
- วันที่5 ข้อควรปฏิบัติ
6.กลุ่มส้ม
- ให้เรียง Map ใหม่เพราะเรียงผิด
- การเลือกซื้อและการถนอม วันที่ 3
- ประโยชน์ของส้ม วันที่ 4 เช่น การแปรรูป การสร้างรายได้ การประกอบอาหาร สร้างอาชีพ และแตกย่อยของแต่ละหัวข้อ
- ข้อควรระวังในวันที่ 5
เพิ่มเติมคำพูดอาจารย์
- จะพูดควรพูดถึงประโยชน์ของตัวมันเองและของทั้งโลกใบนี้
- อะไรที่ใส่ลงไปใน Map คือสิ่งที่เราอยากจะสอนเด็ก
- การเขียนเนื้อหาคือเอาแต่หัวข้อใน Map มาเขียน
- แนวคิด เช่น เห็ดเป็นสิ่งมีชีวิต มีหลายชนิดและมีลักษณะที่แตกต่างกัน
- ลักษณะที่ควรรู้ เช่น ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
- ประสบการณ์สำคัญ คือสิ่งที่เด็กได้ทำ เมื่อเด็กลงมือทำ เด็กได้เรียนรู้ การที่เด็กลงมือทำ เป็นวิธีการเรียนรู้ จะจัดอะไรก็ตามจัดให้เหมาะกับพัฒนาการ เพราะพัฒนาการบอกความสามารถของเด็กและความสามารถของเด็กจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเด็กลงมือทำ เลือกและตัดสินใจด้วยตนเองจะทำให้เด็กมีความาสุขและมีอิสระในการเรียนรู้
- ทำไมเราต้องมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ก็เพราะเพื่อการอยู่รอด
- กรอบพัฒนาการและกิจกรรม เขียนพัฒนาการในแต่ละด้าน ของอายุเด็กที่จะสอน ดูในหลักสูตรเพื่อจะเป็นการประเมินและมีเกณฑ์ในการประเมิน
- การบูรณาการทักษะรายวิชา เช่น
- คณิต การตวง รูปทรง รูปเรขาคณิต การนับ การเปรียบเทียบ พีชคณิต การเก็บรวบรวมและนำเสนอเป็นภาพ กราฟ แผนภูมิ
- วิทยาศาตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- สังคม การมีส่าวนร่วม
- พละ เกมเบ็ดเตล็ด การดูแลตนเอง การล้างมือ สุขภาพอนามัย
- ศิลปะสร้างสรรค์ ยกตัวอย่างประดิษฐ์รถยนต์จากแกนกระดาษทิชชู่ ให้เด็กออกมาแข่งกัน วัดระยะ โดยการใส่พลังงานลงไปในรถที่ประดิษฐ์ อาจจะเป็นยางหมุน ลูกโป่ง เป่าลม
- ภาษา ฟัง พูด (ท่อง ร้อง บรรยาย) อ่าน(ภาษา สัญลักษณ์) เขียน (ภาพศิลปะ ภาษา คำที่สัมพันธ์กับหน่วย ธนาคารคำ)
10. ครูอยากเห็นลูกศิษย์ทำได้และไม่หวงความรู้ ไม่ใช่ดูว่าใครดีใครเด่น
11. Wep เครือข่ายใยแมงมุม (6กิจกรรมหลัก) ในแต่ละกิจกรรมจะต่อยอดของแผนในวันนั้นทำให้ สอดคล้องในแต่ละวันที่ทำกิจกรรม เช่น
- เสริมประสบการณ์ - ชนิด ลักษณะ การดำรงชีวิต ประโยชน์ Cooking
- ศิลปะสร้างสรรค์ เอาที่เด่นๆมาเขียน
- กลางแจ้ง จะให้เด็กทำอะไร
- เกมการศึกษา - ภาพตัดต่อ โดมิโน เรียงลำดับขนาด ภาพความสัมพันธ์กับสถานที่ เช่น เรือคู่กับน้ำ รถคู่กับถนน
นำข้อมูลที่ได้รับไปปรับกับแผนของตนเองในส่วนที่เขียนผิดให้เป็นถูก ในส่วนไม่รู้ก็เสริมในคำพูดของอาจารย์ ทำให้การเขียนแผนครั้งต่อไปง่ายและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
ตนเอง - มีส่วนร่วมในการเขียนแผนและเตรียมของที่พร้อมจะนำเสนอ
เพื่อน - ทุกคนช่วยกันดีมาก รับฟังความคิดเห็นซึ่งวกันและกัน ทำงานกันเป็นทีมและมีระบบ
อาจารย์ - ให้ความรู้ ข้อเสนอแนะ ข้อคิดต่างๆ ทำให้เข้าใจในการเขียนแผนมากยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น