ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาววรรวิภา โพธิ์งาม รายวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย ค่ะ

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินสัปดาห์ที่ 3

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม 2559




เรื่อง : นำเสนองานกลุ่ม

                        วันนี้นำเสนองานกลุ่มซึ่งแต่ละกลุ่มได้เตรียมความพร้อมที่จะมานำเสนออย่างเต็มที่
กลุ่มดิฉันคือกลุ่ม STEM ได้นำเสนอที่มาของSTEM การใช้การเรียนการสอนแบบSTEM กับระดับปฐมวัย ซึ่งอันที่จริงแล้ว STEM ไม่ใช่เรื่องใหม่หรือนวัตกรรมใหม่ แต่เป็นเรื่องที่มีที่เราเจออยู๋ทุกวันเมื่อเราสอนแค่เพียงเรารู้จักการบูรณราการในรายวิชาต่างๆเช่น S ก็คือ วิทยาศาสตร์ T คือ เทคโนโลยี เป็นการสร้างสิ่งใหม่ๆ E คือ วิศวกรรมศาสตร์ เป็นทักษะกระบวนการในการออกแบบ และ M คือ คณิตศาสตร์ มาใช้ระหว่างการเรียนการสอน ตัวอย่างที่เรานำมาเสนอก็คือ เครื่องดนตรีหรรษา เราสามารถสอนและทดลองการทำเครื่องดนตรีไปพร้อมกับเด็กๆ ซึ่งจะพบคำถามต่างๆนาๆ เพียงแค่เกิดต่อมเอ๊ะ!! เท่านั้นเองว่า.....
ได้วิทยาศาสตร์อย่างไร 
     ได้ตรงเครื่องดนตรีหรรษา เป็นการทดลอง สังเกต ตั้งสมมติฐานและลงมือปฏิบัติ เมื่อเคาะแล้วเสียงเกิดได้อย่างไร เมื่อเทน้ำลงไปต่างระดับกันทำไมเสียงถึงแตกต่างกัน 
ได้เทคโนโลยีอย่างไร
     ได้ตรงที่การออกแบบเครื่องดนตรีหรรษา ว่าเราจะออกแบบเป็นอย่างไร ทำจากอะไร จะใช้อะไรทำดี
ได้วิศวกรรมศาสตร์อย่างไร
      ได้ตรงการสร้างเครื่องดนตรีจากอุปกรณ์ต่างๆนอกจากเดิมที่เป็นเครื่องดนตรีของจริง ซึ่งเด็กสามารถทำเองได้ หรือทำไปพร้อมกับคุณครู
และสุดท้ายได้คณิตศาสตร์อย่างไร
      ได้ตรงการคำนวณ การเปรียบเทียบ การกะระยะ การเรียงลำดับ การตวง การเพิ่มและการลด ของน้ำที่เทลงไปในแก้วแต่ละใบ รวมถึงรู้จักตัวเลขนั่นเอง
เพิ่มเติม
เรานำ R กับ A เข้ามา ซึ่ง R ก็คือ อ่านและเขียน ส่วน A คือ ศิลปะ เช่นกันเพียงแค่บูณาการเข้าไปจากเครื่องดนตรีหรรษา ก็ได้ตรง เรื่องสีที่ใส่เข้าไปเราก็สอนเรื่องสีได้


การนำไปใช้
     STEM อยู่ในศาสตร์ของเราอยู่แล้วเพราะเราจัดอยู่ในหมวดบูรณาการผ่านกิจกรรมต่างๆเพียงแค่เรานำมาวิเคราะห์ของสิ่งนั้น เพราะที่ผ่านมายกตัวอย่างจากการทำสื่อการสอน หรือจัดกิจกรรม เราไม่เคยนำมาวิเคราะห์ว่าสิ่งที่เราทำมันบูรณาการอะไรได้บ้าง ขึ้นอยู่ว่าสื่อที่เรานำมาใช้คืออะไรแล้ววิเคราะห์เพื่อที่จะใช้ไปบูรณาการเท่านั้นเอง


การประเมิน
ตนเอง - ยังนำเรื่องที่ตนได้รับมานำเสนอยังไม่กระจ่างต่อผู้ฟัง ซึ่งแท้จริงเป็นเรื่องที่ง่าย
เพื่อน - ทุกคนตั้งใจนำเสนอดี และมีความเตรียมพร้อมในการยกตัวอย่างมานำเสนอเพื่อให้เป็นการเข้าใจง่ายขึ้น
อาจารย์ - อาจารย์เป็นฝู้ฟังและผู้พูดที่ดี เมื่อนักศึกษาพูดจบอาจารย์จะมีข้อเสนอแนะและเพิ่มเติมจากนักศึกษา ทำให้นักศึกษาเข้ากระบวนการนำเสนอที่แท้จริง เพียงแค่ต้องการให้เรารู้จักนำไปใช้อย่างถูกต้องไม่ใช่เพียงรู้ทฤษฎี



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น