ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาววรรวิภา โพธิ์งาม รายวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย ค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินสัปดาห์ที่ 6

วันจันทร์ที่  15 กุมภาพันธ์ 2559
เวลาเรียน  14.30 -17.30 น.  
เรื่อง : ทดลองสอน
                 วันนี้เป็นคิวของคนที่สอนวันจันทร์ของทุกกลุ่ม จะต้องออกมาสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ซึ่งของดิฉันได้รับหน้าที่วันจันทร์
กิจกรรมพื้นฐาน 
         ให้เด็กๆหาพื้นที่ของตนเอง เคาะจังหวะให้เด็กฟัง ให้เด็กควบม้า เมื่อได้ยินสัญญาณหยุดให้หยุด ครูก็จะบอกเปลี่ยนทิศทาง
กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา

  1. ให้เด็กยืนเป็นรูปตัวยู ครูร้องเพลงและเต้นให้เด็กดู เพื่อให้เด็กเต้นตาม
  2. ให้ตัวแทนคนที่ 1 ออกมาเต้นนำเพื่อน และให้เพื่อนเต้นตาม
  3. ให้ตัวแทนคนที่ 1 เลือกคนที่ 2 ออกมาเต้นนำเพื่อน
  4. เมื่อเสร็จแล้วให้เด็กๆนับ 1-3 เรียงจนครบทุกคน
  5. เด็กที่ได้เลขเดียวกันอยู่ด้วยกันแล้วยืนเป็นรูปตัวยู
  6. หมายเลข 1 นำเต้น  หมายเลข 2 เคาะให้จังหวะ หมายเลข 3 ร้องเพลง
  7. เมื่อจบเพลงให้หมายเลข 1 ย้ายไปที่หมายเลข 3 3ไปเลข 2 และ 2 ไปเลข1 โดยเด็กๆต้องจำได้ว่า 1 2 3 ทำอะไร
  8. ให้เด็กทำสลับกันไปจนครบ

กิจกรรมพักคลายกล้ามเนื้อ  
         เด็กนั่งหรือนอนในท่าที่ผ่อนคลาย ผลัดกันนวด ทบทวนเนื้อเพลงให้เด็กกลับเข้าที่

สื่อที่ใช้สอน 
เพลง เห็ดแสนอร่อย 
ว๊าว นั่น เห็ด     เห็ดแสนอร่อย
                                                          กินบ่อยบ่อย     ร่างกายแข็งแรง
                                                          เห็ดนางฟ้า       เห็ดตับเต่า
                                                          เห็ดมันปู          เห็ดเข็มทอง
                                                          เด็กเด็กอยากลอง   ว๊าวๆๆๆ   อยากลองกินเห็ด
                                                          เมื่อเด็กได้ลอง   วู้วๆๆๆ  หนูชอบกินเห็ด
วรรวิภา โพธิ์งาม ผู้แต่ง , ทำนอง

          เพลง นั่นแหนะเสียงใคร
      นั่นเสียงอะไร             เสียงคุยใช่ไหม
                                                       ครูไม่ชอบใจ              ไม่น่ารักเลย
                                                       นั่นแหนะเสียงใคร      เงียบแล้วใช่ไหม
                                                       ถูกอกถูกใจ                ปรบมือให้เลย
                                                                                                                         วรรวิภา โพธิ์งาม ผู้แต่ง 




เพิ่มเติมคำพูดอาจารย์

  •    คนที่ออกมาสอนก็ได้ประโยชน์
  • ให้เด็กๆหาพื้นที่ ให้เด็กๆเคลื่อนไหวไปทั่วบริเวณตามจังหวะที่ครูเคาะ จากนั้นครูบอกคำสั่งมุมนั้นอะไร เช่น นั่นเห็ดโคน มุมนั้นเห็ดนางฟ้า มุมนั้นเห็ดมันปู มุมนี้เห็ดเผาะ เมื่อสั่งเสร็จเคาะจังหวะให้เด็กเดินต่อ ถ้าครูเคาะหยุดให้เด็กๆวิ่งไปมุมเห็ดโคน เป็นต้น


การนำไปใช้
การจัดกิจกรรมให้เป็นลำดับขั้นและสัมพันธ์กับเนื้อหาของหน่วยตนเอง โดยใช้เทคนิคง่ายๆไม่จำเป็นต้องยุ่งยากเพียงแต่แค่สอนให้ราบรื่นและจบภายในเวลาที่กำหนด


        



การประเมิน
ตนเอง -  ตื่นเต้นกับการสอนและสนุกเมื่อสอนเสร็จ
เพื่อน -  ให้ความร่วมมือกับการทดลองสอนในครั้งนี้มาก ทั้งช่วยร้องเพลง เคลื่อนไหว ให้จังหวะ
อาจารย์ -  ให้คำแนะนำในส่วนที่ควรจัดเคลื่อนไหวให้กับเด็กอะไรที่ไม่เกี่ยวก็ตัดออกทำให้ง่ายต่อการสอนมากยิ่งขึ้น



บันทึกอนุทินสัปดาห์ที่ 5

วันจันทร์ที่  8 กุมภาพันธ์ 2559
เวลาเรียน  14.30 -17.30 น.  

เรื่อง : ตรวจแผน
                 
             วันนี้อาจารย์นำแผนของแต่ละกลุ่มขึ้นฉายผ่านโปรเจคเตอร์ เพื่อดูละองค์ประกอบของ Map แต่ละกลุ่ม เป็นการตรวจและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเป็นรายกลุ่มไปพร้อมกันด้วย
1.กลุ่มผีเสื้อ 

  • ในส่วนของการเขียนของเรื่องส่วนประกอบและลักษณะของผีเสื้อยังไม่ถูกต้องและควรเพิ่มเติมข้อมูลลงไปให้ครบ 
  •  ห้ามสอนในส่วนของความหมายก่อนเพราะจะเป็นการบอกเด็ก
  • ใช้การร้องเพลง คำคล้องจอง นิทาน เข้ามาร่วมกับการสอนด้วย
  • ปัจจัยในการดำเนินชีวิตของผีเสื้อ ควรรวมกับอาหารและที่อยู่

 2.กลุ่มผัก

  • ในส่วนของชนิดให้ใส่เป็น กินดอก กับไม่ดอก 
  • เรียงจัดวาง Map ให้ถูกต้อง จัดหมวดหมู่และประเภทให้ถูก เสริมกลิ่นและส่วนประกอบ ยิ่งแตกมากเท่าไรยิ่งดี เช่นเรื่องกลิ่น เหม็น ฉุน ฉาบ เปรี้ยว เพิ่มรสชาติ จืด ขม ฝาด เฝื่อน พื้นผิว เรียบ หยาบ ขรุขระ 
  • การเจริญเติบโต การขยายพันธุ์ แล้ววงจรจะปรากฎ       
 3.กลุ่มเห็ด

  • ประเภทให้เขียน เห็ดกินได้ กับ เห็ดกินไม่ได้
  • วันที่ 3 การดำรงชีวิตและการขยายพันธ์ุจะเป็นจุดเด่นของเห็ด
  • ข้อควรระวังเห็ดที่กินไม่ได้ จะมีวิธีการดูอย่างไร เช่นควรให้ผู้ใหญ่ดูก่อน 
  • เพิ่มเติมเรื่องกลิ่น หอม ฉุน เหม็นเปรี้ยว เหม็นเค็ม
  • ในแผ่นร่าง Map ให้เขียนดีๆ สวยๆ
4.กลุ่มกล้วย

  • เพิ่มเติมในส่วนประกอบ
  • วันที่ 3 จะเป็นการถนอมหรือการเลือกซื้อก็ได้
  • การแปรรูปจะอยู่ในส่วนของประโยชน์
  • เปลี่ยนหัวข้อวันที่แปรรูปเป็นข้อควรระวัง

 5.กลุ่มยานพาหะนะ

  • เพิ่มประเภท
  • ขยายในส่วนประกอบ ไปแตกเพิ่ม
  • วันที่3 การใช้พลังงาน เช่น พลังงานลม แสงอาทิตย์ น้ำมัน พลังงานตนเอง พลังงานไฟฟ้า และการดูแลความปลอดภัย
  • วันที่4 ประโยชน์สร้างรายได้ สร้างอาชีพ แตกย่อยลงไปอีก
  • วันที่5 ข้อควรปฏิบัติ

 6.กลุ่มส้ม

  • ให้เรียง Map ใหม่เพราะเรียงผิด
  • การเลือกซื้อและการถนอม วันที่ 3
  • ประโยชน์ของส้ม วันที่ 4 เช่น การแปรรูป การสร้างรายได้ การประกอบอาหาร สร้างอาชีพ และแตกย่อยของแต่ละหัวข้อ
  • ข้อควรระวังในวันที่ 5
เพิ่มเติมคำพูดอาจารย์
   

  1. จะพูดควรพูดถึงประโยชน์ของตัวมันเองและของทั้งโลกใบนี้
  2. อะไรที่ใส่ลงไปใน Map คือสิ่งที่เราอยากจะสอนเด็ก
  3. การเขียนเนื้อหาคือเอาแต่หัวข้อใน Map มาเขียน
  4. แนวคิด เช่น เห็ดเป็นสิ่งมีชีวิต มีหลายชนิดและมีลักษณะที่แตกต่างกัน
  5. ลักษณะที่ควรรู้ เช่น ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
  6. ประสบการณ์สำคัญ คือสิ่งที่เด็กได้ทำ เมื่อเด็กลงมือทำ เด็กได้เรียนรู้ การที่เด็กลงมือทำ เป็นวิธีการเรียนรู้ จะจัดอะไรก็ตามจัดให้เหมาะกับพัฒนาการ เพราะพัฒนาการบอกความสามารถของเด็กและความสามารถของเด็กจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเด็กลงมือทำ เลือกและตัดสินใจด้วยตนเองจะทำให้เด็กมีความาสุขและมีอิสระในการเรียนรู้
  7. ทำไมเราต้องมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ก็เพราะเพื่อการอยู่รอด
  8. กรอบพัฒนาการและกิจกรรม เขียนพัฒนาการในแต่ละด้าน ของอายุเด็กที่จะสอน ดูในหลักสูตรเพื่อจะเป็นการประเมินและมีเกณฑ์ในการประเมิน
  9. การบูรณาการทักษะรายวิชา เช่น
  •  คณิต การตวง รูปทรง รูปเรขาคณิต การนับ การเปรียบเทียบ พีชคณิต  การเก็บรวบรวมและนำเสนอเป็นภาพ กราฟ แผนภูมิ
  • วิทยาศาตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  • สังคม การมีส่าวนร่วม
  • พละ เกมเบ็ดเตล็ด การดูแลตนเอง การล้างมือ สุขภาพอนามัย
  • ศิลปะสร้างสรรค์ ยกตัวอย่างประดิษฐ์รถยนต์จากแกนกระดาษทิชชู่ ให้เด็กออกมาแข่งกัน วัดระยะ โดยการใส่พลังงานลงไปในรถที่ประดิษฐ์ อาจจะเป็นยางหมุน ลูกโป่ง เป่าลม
  • ภาษา ฟัง พูด (ท่อง ร้อง บรรยาย) อ่าน(ภาษา สัญลักษณ์) เขียน (ภาพศิลปะ ภาษา คำที่สัมพันธ์กับหน่วย ธนาคารคำ)

       10. ครูอยากเห็นลูกศิษย์ทำได้และไม่หวงความรู้ ไม่ใช่ดูว่าใครดีใครเด่น
       11. Wep เครือข่ายใยแมงมุม (6กิจกรรมหลัก) ในแต่ละกิจกรรมจะต่อยอดของแผนในวันนั้นทำให้                สอดคล้องในแต่ละวันที่ทำกิจกรรม เช่น

  • เสริมประสบการณ์ - ชนิด ลักษณะ การดำรงชีวิต ประโยชน์ Cooking
  • ศิลปะสร้างสรรค์ เอาที่เด่นๆมาเขียน
  • กลางแจ้ง จะให้เด็กทำอะไร
  • เกมการศึกษา - ภาพตัดต่อ โดมิโน เรียงลำดับขนาด ภาพความสัมพันธ์กับสถานที่ เช่น เรือคู่กับน้ำ รถคู่กับถนน






การนำไปใช้
นำข้อมูลที่ได้รับไปปรับกับแผนของตนเองในส่วนที่เขียนผิดให้เป็นถูก ในส่วนไม่รู้ก็เสริมในคำพูดของอาจารย์ ทำให้การเขียนแผนครั้งต่อไปง่ายและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
        


การประเมิน
ตนเอง -  มีส่วนร่วมในการเขียนแผนและเตรียมของที่พร้อมจะนำเสนอ
เพื่อน -  ทุกคนช่วยกันดีมาก รับฟังความคิดเห็นซึ่งวกันและกัน ทำงานกันเป็นทีมและมีระบบ
อาจารย์ -  ให้ความรู้ ข้อเสนอแนะ ข้อคิดต่างๆ ทำให้เข้าใจในการเขียนแผนมากยิ่งขึ้น


บันทึกอนุทินสัปดาห์ที่ 4

วันจันทร์ที่  1 กุมภาพันธ์ 2559



เรื่อง : คิดหน่วยการเรียนรู้

           อาจารย์ให้จับกลุ่ม 5 คน สำหรับการคิดหน่วยการเรียนรู้ที่เราอยากจะสอนและนำไปสอนได้จริง เป็นการเตรียมตัวก่อนออกฝึกสอน ร่างโครงเพื่อที่จะต้องเตรียมทดลองสอนแล้วค่อยเอาเทคนิคเข้ามาเสริมเพื่อลงการปฏิบัติ โดยจะแบ่งเป็น 5 วัน จันทร์ถึงศุกร์ ให้นำกิจกรรมทั้ง 6 มาใส่อยู่ภายในแผนของแต่ละวัน สรุปคือจะต้องมีทั้งหมด 30 แผนการสอนนั่นเอง โดยให้แบ่งภายในกลุ่มเลือกใครจะอยู่วันไหนเพื่อไปเขียนแผนที่ตนจะสอนมาและจะต้องสอดคล้องกับเรื่องให้มากที่สุด ก็คือการร่วมกันทำ Mind Map ภายในกลุ่มก่อนเพื่อแตกโครงร่างของส่วนประกอบว่าเราจะสอนเนื้อหาอะไรแก่เด็กบ้าง ซึ่งทั้งหมด มี 6 กลุ่ม มีหัวข้อหน่วยการเรียนรู้ ดังนี้
1. หน่วย ผัก
2. หน่วย เห็ด
3. หน่วย ผีเสื้อ
4. หน่วย ส้ม
5. หน่วยกล้วย
6. หน่วย ยานพาหนะ
                        

 การแสดงความคิดเห็นถึงหน่วยการเรียนรู้




การนำไปใช้

          เราสามารถนำแผนที่เราร่วมกันเขียนไปใช้สอนที่โรงเรียนที่เราฝึกสอนได้ โดยจากการที่ทำเล่มแผนและใบการเรียนรู้ แผ่นชาร์ทต่างๆ เมื่อผ่านการทดลองสอนและผ่านด้วยดี แผนถูกต้องครบหมดแล้ว

การประเมิน
ตนเอง - มีส่วนร่วมในการเสนอชื่อเรื่องเพื่อการตัดสินใจร่วมกันของเพื่อนในกลุ่ม
เพื่อน -  ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีข้อเสนอมากมายสำหรับงานชิ้นนี้ที่ได้รับมอบหมาย
อาจารย์ - สั่งได้กระชับและเข้าใจ แนะแนวทางในการทำแผนเพื่อให้นักศึกษานำไปต่อยอดสอนได้จริง 




วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินสัปดาห์ที่ 3

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม 2559




เรื่อง : นำเสนองานกลุ่ม

                        วันนี้นำเสนองานกลุ่มซึ่งแต่ละกลุ่มได้เตรียมความพร้อมที่จะมานำเสนออย่างเต็มที่
กลุ่มดิฉันคือกลุ่ม STEM ได้นำเสนอที่มาของSTEM การใช้การเรียนการสอนแบบSTEM กับระดับปฐมวัย ซึ่งอันที่จริงแล้ว STEM ไม่ใช่เรื่องใหม่หรือนวัตกรรมใหม่ แต่เป็นเรื่องที่มีที่เราเจออยู๋ทุกวันเมื่อเราสอนแค่เพียงเรารู้จักการบูรณราการในรายวิชาต่างๆเช่น S ก็คือ วิทยาศาสตร์ T คือ เทคโนโลยี เป็นการสร้างสิ่งใหม่ๆ E คือ วิศวกรรมศาสตร์ เป็นทักษะกระบวนการในการออกแบบ และ M คือ คณิตศาสตร์ มาใช้ระหว่างการเรียนการสอน ตัวอย่างที่เรานำมาเสนอก็คือ เครื่องดนตรีหรรษา เราสามารถสอนและทดลองการทำเครื่องดนตรีไปพร้อมกับเด็กๆ ซึ่งจะพบคำถามต่างๆนาๆ เพียงแค่เกิดต่อมเอ๊ะ!! เท่านั้นเองว่า.....
ได้วิทยาศาสตร์อย่างไร 
     ได้ตรงเครื่องดนตรีหรรษา เป็นการทดลอง สังเกต ตั้งสมมติฐานและลงมือปฏิบัติ เมื่อเคาะแล้วเสียงเกิดได้อย่างไร เมื่อเทน้ำลงไปต่างระดับกันทำไมเสียงถึงแตกต่างกัน 
ได้เทคโนโลยีอย่างไร
     ได้ตรงที่การออกแบบเครื่องดนตรีหรรษา ว่าเราจะออกแบบเป็นอย่างไร ทำจากอะไร จะใช้อะไรทำดี
ได้วิศวกรรมศาสตร์อย่างไร
      ได้ตรงการสร้างเครื่องดนตรีจากอุปกรณ์ต่างๆนอกจากเดิมที่เป็นเครื่องดนตรีของจริง ซึ่งเด็กสามารถทำเองได้ หรือทำไปพร้อมกับคุณครู
และสุดท้ายได้คณิตศาสตร์อย่างไร
      ได้ตรงการคำนวณ การเปรียบเทียบ การกะระยะ การเรียงลำดับ การตวง การเพิ่มและการลด ของน้ำที่เทลงไปในแก้วแต่ละใบ รวมถึงรู้จักตัวเลขนั่นเอง
เพิ่มเติม
เรานำ R กับ A เข้ามา ซึ่ง R ก็คือ อ่านและเขียน ส่วน A คือ ศิลปะ เช่นกันเพียงแค่บูณาการเข้าไปจากเครื่องดนตรีหรรษา ก็ได้ตรง เรื่องสีที่ใส่เข้าไปเราก็สอนเรื่องสีได้


การนำไปใช้
     STEM อยู่ในศาสตร์ของเราอยู่แล้วเพราะเราจัดอยู่ในหมวดบูรณาการผ่านกิจกรรมต่างๆเพียงแค่เรานำมาวิเคราะห์ของสิ่งนั้น เพราะที่ผ่านมายกตัวอย่างจากการทำสื่อการสอน หรือจัดกิจกรรม เราไม่เคยนำมาวิเคราะห์ว่าสิ่งที่เราทำมันบูรณาการอะไรได้บ้าง ขึ้นอยู่ว่าสื่อที่เรานำมาใช้คืออะไรแล้ววิเคราะห์เพื่อที่จะใช้ไปบูรณาการเท่านั้นเอง


การประเมิน
ตนเอง - ยังนำเรื่องที่ตนได้รับมานำเสนอยังไม่กระจ่างต่อผู้ฟัง ซึ่งแท้จริงเป็นเรื่องที่ง่าย
เพื่อน - ทุกคนตั้งใจนำเสนอดี และมีความเตรียมพร้อมในการยกตัวอย่างมานำเสนอเพื่อให้เป็นการเข้าใจง่ายขึ้น
อาจารย์ - อาจารย์เป็นฝู้ฟังและผู้พูดที่ดี เมื่อนักศึกษาพูดจบอาจารย์จะมีข้อเสนอแนะและเพิ่มเติมจากนักศึกษา ทำให้นักศึกษาเข้ากระบวนการนำเสนอที่แท้จริง เพียงแค่ต้องการให้เรารู้จักนำไปใช้อย่างถูกต้องไม่ใช่เพียงรู้ทฤษฎี