ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาววรรวิภา โพธิ์งาม รายวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย ค่ะ

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินสัปดาห์ที่ 8

วันจันทร์ที่  29 กุมภาพันธ์ 2559
เวลาเรียน  14.30 -17.30 น.  
เรื่อง : ทดลองสอนเสริมประการณ์ของวันอังคาร
               
กลุ่มที่ 1 ผีเสื้อ 

  • ไม่ควรพูดถึงชนิดแล้ว ชนิดอยู่วันที่ 1 
  • ควรมีเพลงลักษณะของผีเสื้อ
  • ตัดภาพผีเสื้อติดกระดาษแข็งมาเนื่องจากไม่มีสื่อจริงต้องแก้ปัญหาเป็น
  • แผ่นส่วนประกอบให้วาดภาพมาหรือมีภาพแล้วค่อยมาถามเด็กๆว่าส่วนประกอบมีอะไรบ้าง แล้วค่อยทำบัตรคำมาติดทีละส่วนประกอบตามที่เด็กบอก
  • ในแผ่นของ Mind Map เอาภาพมาติดด้วยจะดีมาก และเขียน Map ควรขึ้นทีละวัน เช่นวันแรกชนิดให้ขึ้นชนิดไว้และเมื่อสอนครบทั้ง 5 วัน Mind Map ก็จะออกมาสมบูรณ์

กลุ่มที่ 2 เห็ด
  • เมื่อทบทวนเพลงในขั้นนำเสร็จแล้ว ให้เด็กสังเกตด้วยสายตาเมื่อครูชูเห็ดให้ดู สิ่งที่ต้องให้เด็กสังเกตเพื่อที่จะเขียนแผ่นชาร์ท คือ สี รูปทรง ขนาด ส่วนประกอบ หลังจากนั้นค่อยเอาเห็ดใสจานหรือตะกร้า เพื่อให้เด็กได้ ดม และสัมผัส เพื่อที่ครูจะถาม ว่าเห็ดมีกลิ่นยังไงบ้าง พื้นผิวของเห็ดเป็นยังไง ให้เด็กๆวนจานให้เพื่อนสัมผัสจนครบ แล้วครูค่อยถามเพื่อจะนำไปเขียนในแผ่นชาร์ท
  • ในแผ่นแยกลักษณะของเห็ดถ้าเราเอาเห็ดอะไรขึ้นก่อนให้นำเห็ดชนิดนั้นมาพูดก่อนและบันทึกให้เสร็จ
  • การระบายสีเห็ดห้ามระบายเป็นวงกลม ให้ขีดฝนสี
  • เพลงส่วนประกอบของเห็ดให้เหลือแค่ หมวก ก้าน ครีบ ก็พอ เอาที่เด็กมองแค่ภายนอกของมัน
  • จากนั้นนำไปเปรียบเทียบ ในหัวข้อเปรียบเทียบลักษณะความเหมือนความต่าง  เอาส่วนที่เหมือนก่อน พูดก่อน แล้วค่อยพูดในส่วนที่ต่าง 
  • การเรียงในแผ่นของลักษณะ ในแยกและเรียงลำดับให้ถูก ให้เอาสิ่งที่เด็กสามารถมองด้วยตาเปล่าและพูดได้เลยเขียนเรียงไว้ก่อน เช่น สี รูปทรง ขนาด ส่วนประกอบ แล้วเอาเรื่องกลิ่น กับ ผิว ไว้หลังสุดเพื่อที่จะให้เด็กได้ดมและสัมผัสนั่นเอง
  • คำถามที่ใช้ อะไรที่เห็ดเข็มทองไม่เหมือนเห็ดหอม
  • การสรุป เห็ดเข็มทองและเห็ดหอมมีลักษณะบางอย่างที่เหมือนกัน เช่น .......... , เห็ดเข็มทองและเห็ดหอมมีลักษณะบางอย่างที่ไม่เหมือนกัน เช่น .........
  • เพลงส่วนประกอบของเห็ด
                                                              เพลง ส่วนประกอบของเห็ด
                                                         

วรรวิภา โพธิ์งาม ผู้แต่ง , ทำนอง ARE YOU SLEEPING

กลุ่มที่ 3 ผัก
  • ไม่มีแผ่นเพลงส่วนประกอบของผัก 
  • ในชาร์ทมีแต่ตัวหนังสือควรมีภาพติดมาด้วย
  • ไม่มีแผ่นชาร์ทส่วนประกอบของผัก
  • ไม่มีผักของจริงเพื่อนำมาเปรียบเทียบ ให้แก้ปัญหาโดยการนำภาพมาและตัดให้เด็กได้เห็น
กลุ่มที่ 4 กล้วย 

  • คำคล้องจองให้มีภาพติด
  • ไม่มีชาร์ทส่วนประกอบ ลักษณะของกล้วย
  • ฝึกพูดคำคล้องจองโดยให้เด็กพูดคำคล้องจองตามครูทีละวรรคนะคะ
  • ถ้ามีการปอกเปลือกกล้วยให้เด็กดู ให้ปอกรองจากการดมกลิ่น
  • บอกพื้นผิวก่อน แล้วมาส่วนประกอบและปอกเปลือกให้เด็กดูแล้วส่งให้เด็กดมกลิ่น และจะไม่พูดถึงสีของเนื้อกล้วยแล้วเพราะเราให้ดูภายนอก
  • หั่นใส่จาน มีไม้จิ้มเล็กๆให้เด็กได้ดมกลิ่นและชิมรสชาต ครูบันทึกเมื่อเด็กตอบ
                                                                 เพลง เก็บเด็ก
ชูนิ้วขึ้นมา 1 นิ้ว        เป็นหนอนกระดึ๊บ กระดึ๊บ
 ชูนิ้วขึ้นมา 2 นิ้ว        เป็นกระต่ายกระโดดไปมา
   ชูนิ้วขึ้นมา 3 นิ้ว        เป็นแมวเหมียวร้องเรียกหา
     ชูนิ้วขึ้นมา 4 นิ้ว        เป็นแมงมุมไต่ขึ้นบนหลังคา
                              ชูนิ้วขึ้นมา 5 นิ้ว        เป็นหลังคาบ้าน เด็กๆได้บ้านหลังน้อยยังคะ


เพิ่มเติมคำพูดอาจารย์


  • ซื้อสมุดลายเส้นมาคัด ก-ฮ คัดอาทิตย์ละ 2 ครั้ง
  • เราทุกคนต้องรักในสิทธิ์ของตนเอง
  • จะสอนเพลง พูดคุย ทบทวน คณิตศาตร์อยู่ตรงไหน ?
  • การสอนทุกครั้งควรมีสื่อมาด้วย ไม่ควรมีแผ่นชาร์ท
  • ในขั้นนำควรจะมีเพลง คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย 
  • เห็ดกับผีเสื้อ มีสื่อมาสะท้อนความตั้งใจ
  • เห็ดมีวิธีการสอนที่โอเค 
  • เมื่อไม่มีของสด ให้ปริ้นมาและตัดแทน
  • กล้วย มีความตั้งใจแล้ว แต่การเตรียมและจัดลำดับยังไม่ดี
  • การที่มีตารางวิเคราะห์ ทำให้เด็กเข้าใจได้มากกว่า เพราะเด็กจะได้เห็นข้อมูลและสามารถดึงมาได้เพื่อที่จะเปรียบเทียบ และเราจะทำงานได้ง่ายและดีขึ้น
  • ในตารางวิเคราะต่างเหมือน ครูต้องรู้ว่าอะไรควรมาก่อน เรียงจากอะไรก่อน
  • ไปทำใบตารางการสอนของกลุ่มตัวเองมา เพื่อที่จะง่ายต่อการเช็คข้อมูลว่าใครสอนแล้วบ้าง
  • แผนเวลาส่งให้ส่งเป็นเล่ม

การนำไปใช้

  1. นำวิธีการการจัดลำดับขั้นตอนในการสอนของวันที่ 2 ไปใช้เพื่อความง่ายและสะดวก แถมยังถูกต้องอีกด้วย 
  2. การแก้ปัญหาในการที่ไม่มีสื่อ ควรจะทำอย่างไร

        
การประเมิน
ตนเอง -  มีความมั่นใจในตนเองในการช่วยเพื่อนสอนเนื่องจากเพื่อนยังสอนไม่เป็น เนื่องจากตนเคยเรียนกับอาจารย์มาแล้วก็พอรู้ว่าควรสอนแบบไหน แต่อาจจะมีผิดบ้างเล็กน้อย แต่ทั้งสิ้นก็ล้วนมาจากความตั้งใจเพื่อตนเองและเพื่อนๆทั้งนั้นค่ะ
เพื่อน - มีเพื่อนๆในบางส่วน ที่ยังไม่เคยเรียนกับอาจารย์ทำให้การสอนของเพื่อนยังออกมาไม่ดีตามที่อาจารย์ต้องการ เพื่อนไม่มีสื่อ และเตรียมความพร้อมมายังไม่ดีพอ
อาจารย์ -  วันนี้อาจารย์ดูเครียดๆกับการสอนของนักศึกษาปี 4 และก็เข้าใจว่าอาจารย์หวังดีและมีเจตนาที่ดีเพื่อให้นักศึกษาสามารถสอนได้ และอาจารย์ก็คอยให้คำแนะนำตลอด ชี้ทางให้เห็นถึงวิธีการสอนอย่างเป็นลำดับและมีกระบวนการในการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจและนำไปปรับใช้ได้เมื่อต้องออกไปฝึกสอนจริงๆ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น