ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของนางสาววรรวิภา โพธิ์งาม รายวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย ค่ะ

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทินสัปดาห์ที่ 13

วันจันทร์ที่  28 มีนาคม 2559
เวลาเรียน  14.30 -17.30 น.
http://www.bloggang.com/data/praewkwun/picture/


https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjS9YF1TGCt1Dvy0ootuOnZyeH2I0uIUOYEYhfDuEO0Xkl3ZEUpKXfg51hrfhOaw6fO562Za4fI9UNJD0rXyfS-gdaV6uwC-a2WdONQdWGKBiOvNdCEESBsRFSRDXuV0XI0u-AF_sWUQCY/s1600/เรื่อง : ทดลองสอนของวันพุธและวันศุกร์

005-34.gif image by MMEEWW  กลุ่มที่ 1 ผีเสื้อ 
  1. วันพุธ เสริมประสบการณ์


     2. วันพฤหัสบดี กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

  • หนอนผีเสื้อกัดใบไม้ไม่ทำให้ถึงกับทำลายธรรมชาติ แต่อาจจะเป็นการทำให้ราคาผักเสียหาย

    Photobucket - Video and Image Hosting
       005-35.gif image by MMEEWW กลุ่มที่ 2 เห็ด
      1. วันพุธ กิจกรรมเสริมประสบการณ์
      • ขั้นนำ อาจจะเล่าตามเขาในยูทูปแต่นำมาเปลี่ยนเป็นนิทานของการเพาะเห็ด
      • ตัวหนังสือในแผ่นชาร์ทควรใช้สีดำ
      • การเตรียมโรงเรือน อาจจะวาดมาเป็นโรงเรือน
      • ส่วนผสมถ้ามีของจริงก็จะดี
      • การผสมของก้อนเชื้อเห็ดให้มีถุงมือหรือช้อนสำหรับคน
      • การตักก้อนเชื้อใส่ถุงอาจจะให้เด็กออกมาช่วยตัก ให้เด็กได้มีส่วนร่วม
      • ตอนแจกก้อนเชื้อของเห็ด อาจจะให้เด็กได้กรอกใส่ถุงเองโดยที่ครูเตรียมก้อนเชื้อใส่ชามให้เด็ก
      • เอา STEM เข้ามามีส่วนร่วม วิทยาศาสตร์ คือการเปลี่ยนแปลง การเจริญเติบโตองเห็ด , วิศวะ คือการวางแผน การออกแบบโรงเรือน , เทคโนโลยี คือ การใช้ การนำเสนอ , คณิตศาสตร์ คือ การตวงของส่วนประกอบ
      • ตรงสาระการเพาะเห็ด ให้เขียนขั้นตอนย่อๆ แต่ครบ
              2. วันศุกร์ กิจกรรมเคลื่อนไหว
        • เปลี่ยนทิศทาง เปลี่ยนระดับ ไม่ต้องเดิน เพราะเราใช้เคลื่อนไหวโดยการกระโดดไปแล้ว อาจจะกระโดดขาเดียว เป็นต้น
        • การจับกลุ่มให้เด็ก นอกจากการนับ 1-3 แล้ว อาจจะใช้ สัญลักษณ์ , การร้องเพลง , การใช้สัญญาณหยุด , สัญลักษณ์สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม , อาจจะทำหมวกเห็ดให้เด็กใส่ เด็กเห็ดเหมือนกันให้จับกลุ่มอยู่กลุ่มเดียวกัน , ใช้คำถาม เอ้า นกสองขาบวกกับไก่สองขาเป็นเท่าไร เป็นต้น
        • การร้องเพลง อาจจะมีวิทยุเข้ามาช่วยไม่จำเป็นต้องร้องเองก็ได้
        Photobucket - Video and Image Hosting
         005-6.gif image by MMEEWW กลุ่มที่ 3 ผัก
        1. วันพุธ กิจกรรมเสริมประสบการณ์
        • การนำเสนอยังไม่ครบ ไม่มีผักกินดอก ควรมีให้ครบเหมือนตอนแยกชนิด
                2. วันพฤหัสบดี กิจกรรมเสริมประสบการณ์
          • ท้องผูกเนื่องจากไม่มีกากอาหาร ไม่ใช่ ไม่กินผักทำให้ท้องผูก
          • เด็กๆคิดว่า ผักมีประโยชน์อะไรอีก อาจจะมีอาชีพ คนขายกับข้าว โรงงานผลิตกระป๋อง ชาวสวน
          • การทำถุงมือในการประกอบการเล่า ส่วนมากในการเล่าถ้ามีหลายตัวละครใช้เป็นแบบไม้จะดีกว่า
          Photobucket - Video and Image Hosting
                005-5.gif image by MMEEWWกลุ่มที่ 4 กล้วย 
              1. วันศุกร์ กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ เคลื่อนไหวตามจินตนาการ
              • การแต่งเรื่องบรรยาย ควรมีเนื้อหาให้สอดคล้องกับสาระที่จะสอน
              • กิจกรรมในแผนกับการสอนไม่ตรงกัน

                      2. วันจันทร์ กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ เคลื่อนไหวความจำ

                • การบอกเด็กถึงมุมต่างๆไม่ต้องบอกว่าซ้ายบน ขวาล่าง แต่ให้ใช้มือยื่นไปชี้ว่ามุมนี้ มุมนั้น มุมโน้น แทน

                                              
                https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhQQlWdskoGiPCq00C5zbk4y-dLBFWEcQI7a7tBYPgU7w6v4mLo8HpxOlCi29M07If-YSNp1W8yVCujVoBccCVU1_RSj_PyMl7Q1o9782deMtbQfzyBzYXHu9L0Hgl_W7wnvjaWVRmnC5VJ/s1600/
                 005-36.gif image by MMEEWW กลุ่มที่ 5 ส้ม
                1. วันอังคาร กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
                • เขียนหลักลงไปในแผนด้วย เช่นจะสอนผู้นำผู้ตาม และเอาเนื้อหาเข้าไปเกี่ยวข้อง


                        2. วันศุกร์ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
                  • กิจกรรมพื้นฐาน เขียนให้ชัดเจน
                  • ควรสอนให้ตรงกับแผนที่เขียนมา
                  • กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา อาจจะเป็น ถ้าครูพูดเค้กส้ม เด็กจะต้องตบมือ 2 ครั้ง , เยลลี่ส้ม 3 ครั้ง , เป็นการให้เด็กปรบมือตามพยางค์ที่คุณครูพูด เด็กก็จะได้เรื่องการนับ และยังบูรณาการเรื่องคณิตศาสตร์

                  https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgJDzcXuuoHwP2N95sjOZj_y0shIAUb-HuzIXS1psOrgXmV6RfvgVBjstEwMXxV1B-sGgvGAPe9aTP66Ikrs_TXwvIy8XOEhctZHMHssQQhKEpjjDR3HPlOlQj05qpiZ_i6BGYEjErNhXDy/s1600/
                    005-34.gif image by MMEEWWกลุ่มที่ 6 ยานพาหนะ 
                  1. วันพุธ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
                  • คำว่าสคริป คือก้าวชิดก้าว

                          2. วันพฤหัสบดี กิจกรรมเสริมประสบการณ์
                    • ให้เริ่มจากเชื้อเพลิงของประเภทต่างๆ เช่น น้ำมัน กำลังคน/สัตว์ แก๊ส ลม ไฟฟ้า แล้วมาคละว่าอะไรใช้น้ำมัน อะไรใช้คน
                    • ปริศนาคำทายให้ไว้ในวันที่ 2
                    • เชื้อเพลิงกับการดูแลรักษา ให้เน้นเชื้อเพลิง การดูแลบอกการล้างทำความสะอาด แต่ไม่ต้องเน้นมาก แต่ถ้าจะเอาการดูแลรักษา ให้เอาการจัดลำดับขั้นตอนการวางแผน การดูแลรักษาให้ละเอียด เช่นเรื่องของการล้างยานพาหนะ

                    https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgyjWNe0o7IsUdospMdhCSjgDH8Zt3BdWWBhf-JfBq5cIQyt1yp3PXzsoyWaJkbTd-nYaaYAaMA5HkNyuIDuTRWbiwvfTNZqXh3Gk7xoPuc0Ya0kVSjShdTA3VghNjuiLkaF4HnUwTlCP1J/s1600/
                    https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjS9YF1TGCt1Dvy0ootuOnZyeH2I0uIUOYEYhfDuEO0Xkl3ZEUpKXfg51hrfhOaw6fO562Za4fI9UNJD0rXyfS-gdaV6uwC-a2WdONQdWGKBiOvNdCEESBsRFSRDXuV0XI0u-AF_sWUQCY/s1600/การนำไปใช้


                    1. เทคนิคการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ในการที่ให้เด็กได้เปลี่ยน ทิศทาง ระดับ ทำให้มีการสอนพื้นฐานที่หลากหลาย และเด็กจะได้ไม่เบื่อต่อการสอนด้วยเช่นกัน
                    2. หลักในการสอนเสริมประสบการณ์ ในการสอนเป็นขั้นตอน ให้เห็นถึงขั้นและกระบวนการ ซึ่งทำให้เด็กเข้าใจได้ง่ายและรับรู้ได้ดี
                    https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi3IhWCscNnw7NQ54ZyHBHTbcOsD9TElX9fLckrMVXj9qyrTF-v3d5rQXucHvgpQbYgXgnhkQXIVl3FOkFh3CJ4sgSTbN2T9EEzgCkP8chN_XJEQz68pF59frHQ2tKKoS58D8jYtdZ_PoJE/s1600/
                    https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjS9YF1TGCt1Dvy0ootuOnZyeH2I0uIUOYEYhfDuEO0Xkl3ZEUpKXfg51hrfhOaw6fO562Za4fI9UNJD0rXyfS-gdaV6uwC-a2WdONQdWGKBiOvNdCEESBsRFSRDXuV0XI0u-AF_sWUQCY/s1600/การประเมิน
                    ตนเอง -  ตั้งใจจดบันทึกคำแนะนำของอาจารย์ ในแต่ละกลุ่ม เพื่อนำไปปรับใช้ประโยชน์ของตนเองในการนำไปสอนในอนาคตที่กำลังจังถึง
                    เพื่อน - เพื่อนที่สอนมีการเตรียมตัวมาดี อาจจะมีเล็กน้อยที่ยังไม่สมบูรณ์ ส่วนเพื่อนที่เป็นนักเรียนให้ความร่วมมือได้ดีมาก 
                    อาจารย์ - มีข้อเสนอ และแนะนำนักศึกษาให้เห็นทางการสอนที่แท้จริง ว่าควรสอนอย่างไร นำไปใช้อย่างไร คอยให้คำปรึกษาเสมอ มีเวลาว่างให้นักศึกษาเข้าไปสอบถามงานตลอด อาจารย์เป็นคนที่ทุ่มเทกับการสอนของนักศึกษามาก กลัวว่าออกไปฝึกสอนแล้วจะทำออกมาไม่ดี อาจารย์เป็นคนที่น่ารักมากค่ะ




                    วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559

                    ์บันทึกอนุทินสัปดาห์ที่ 10

                    วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2559
                    เวลาเรียน  14.30 -17.30 น.  

                          

                              เนื่องจากวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาไปเอาของที่ทางคณะทิ้ง สิ่งใดที่นำไปใช้หรือปรับ ประยุกต์ได้ก็ให้เอาไป จึงทำให้เพื่อนๆขอเลื่อนการทดลองสอนไปในวันที่ 22 มีนาคม 2559 ช่วงเวลาบ่าย เพราะอาจจะเหนื่อยและเวลาในการทดลองสอนก็ไม่เพียงพอ อาจารย์ใจดีมากเลยค่ะ ที่ตกลงตามนั้น นักศึกษาต่างพากันดีใจที่ได้ของกลับบ้านด้วยเช่นกันค่ะ

                    วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559

                    บันทึกอนุทินสัปดาห์ที่9

                    วันจันทร์ที่  7 มีนาคม 2559
                    เวลาเรียน  14.30 -17.30 น.  

                                   
                    วันนี้งดการเรียนการสอนแต่ไปช่วยอาจารย์คัดของออก เพื่อที่จะย้ายของไปตึกใหม่ค่ะ


                    วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

                    บันทึกอนุทินสัปดาห์ที่ 8

                    วันจันทร์ที่  29 กุมภาพันธ์ 2559
                    เวลาเรียน  14.30 -17.30 น.  
                    เรื่อง : ทดลองสอนเสริมประการณ์ของวันอังคาร
                                   
                    กลุ่มที่ 1 ผีเสื้อ 

                    • ไม่ควรพูดถึงชนิดแล้ว ชนิดอยู่วันที่ 1 
                    • ควรมีเพลงลักษณะของผีเสื้อ
                    • ตัดภาพผีเสื้อติดกระดาษแข็งมาเนื่องจากไม่มีสื่อจริงต้องแก้ปัญหาเป็น
                    • แผ่นส่วนประกอบให้วาดภาพมาหรือมีภาพแล้วค่อยมาถามเด็กๆว่าส่วนประกอบมีอะไรบ้าง แล้วค่อยทำบัตรคำมาติดทีละส่วนประกอบตามที่เด็กบอก
                    • ในแผ่นของ Mind Map เอาภาพมาติดด้วยจะดีมาก และเขียน Map ควรขึ้นทีละวัน เช่นวันแรกชนิดให้ขึ้นชนิดไว้และเมื่อสอนครบทั้ง 5 วัน Mind Map ก็จะออกมาสมบูรณ์

                    กลุ่มที่ 2 เห็ด
                    • เมื่อทบทวนเพลงในขั้นนำเสร็จแล้ว ให้เด็กสังเกตด้วยสายตาเมื่อครูชูเห็ดให้ดู สิ่งที่ต้องให้เด็กสังเกตเพื่อที่จะเขียนแผ่นชาร์ท คือ สี รูปทรง ขนาด ส่วนประกอบ หลังจากนั้นค่อยเอาเห็ดใสจานหรือตะกร้า เพื่อให้เด็กได้ ดม และสัมผัส เพื่อที่ครูจะถาม ว่าเห็ดมีกลิ่นยังไงบ้าง พื้นผิวของเห็ดเป็นยังไง ให้เด็กๆวนจานให้เพื่อนสัมผัสจนครบ แล้วครูค่อยถามเพื่อจะนำไปเขียนในแผ่นชาร์ท
                    • ในแผ่นแยกลักษณะของเห็ดถ้าเราเอาเห็ดอะไรขึ้นก่อนให้นำเห็ดชนิดนั้นมาพูดก่อนและบันทึกให้เสร็จ
                    • การระบายสีเห็ดห้ามระบายเป็นวงกลม ให้ขีดฝนสี
                    • เพลงส่วนประกอบของเห็ดให้เหลือแค่ หมวก ก้าน ครีบ ก็พอ เอาที่เด็กมองแค่ภายนอกของมัน
                    • จากนั้นนำไปเปรียบเทียบ ในหัวข้อเปรียบเทียบลักษณะความเหมือนความต่าง  เอาส่วนที่เหมือนก่อน พูดก่อน แล้วค่อยพูดในส่วนที่ต่าง 
                    • การเรียงในแผ่นของลักษณะ ในแยกและเรียงลำดับให้ถูก ให้เอาสิ่งที่เด็กสามารถมองด้วยตาเปล่าและพูดได้เลยเขียนเรียงไว้ก่อน เช่น สี รูปทรง ขนาด ส่วนประกอบ แล้วเอาเรื่องกลิ่น กับ ผิว ไว้หลังสุดเพื่อที่จะให้เด็กได้ดมและสัมผัสนั่นเอง
                    • คำถามที่ใช้ อะไรที่เห็ดเข็มทองไม่เหมือนเห็ดหอม
                    • การสรุป เห็ดเข็มทองและเห็ดหอมมีลักษณะบางอย่างที่เหมือนกัน เช่น .......... , เห็ดเข็มทองและเห็ดหอมมีลักษณะบางอย่างที่ไม่เหมือนกัน เช่น .........
                    • เพลงส่วนประกอบของเห็ด
                                                                                  เพลง ส่วนประกอบของเห็ด
                                                                             

                    วรรวิภา โพธิ์งาม ผู้แต่ง , ทำนอง ARE YOU SLEEPING

                    กลุ่มที่ 3 ผัก
                    • ไม่มีแผ่นเพลงส่วนประกอบของผัก 
                    • ในชาร์ทมีแต่ตัวหนังสือควรมีภาพติดมาด้วย
                    • ไม่มีแผ่นชาร์ทส่วนประกอบของผัก
                    • ไม่มีผักของจริงเพื่อนำมาเปรียบเทียบ ให้แก้ปัญหาโดยการนำภาพมาและตัดให้เด็กได้เห็น
                    กลุ่มที่ 4 กล้วย 

                    • คำคล้องจองให้มีภาพติด
                    • ไม่มีชาร์ทส่วนประกอบ ลักษณะของกล้วย
                    • ฝึกพูดคำคล้องจองโดยให้เด็กพูดคำคล้องจองตามครูทีละวรรคนะคะ
                    • ถ้ามีการปอกเปลือกกล้วยให้เด็กดู ให้ปอกรองจากการดมกลิ่น
                    • บอกพื้นผิวก่อน แล้วมาส่วนประกอบและปอกเปลือกให้เด็กดูแล้วส่งให้เด็กดมกลิ่น และจะไม่พูดถึงสีของเนื้อกล้วยแล้วเพราะเราให้ดูภายนอก
                    • หั่นใส่จาน มีไม้จิ้มเล็กๆให้เด็กได้ดมกลิ่นและชิมรสชาต ครูบันทึกเมื่อเด็กตอบ
                                                                                     เพลง เก็บเด็ก
                    ชูนิ้วขึ้นมา 1 นิ้ว        เป็นหนอนกระดึ๊บ กระดึ๊บ
                     ชูนิ้วขึ้นมา 2 นิ้ว        เป็นกระต่ายกระโดดไปมา
                       ชูนิ้วขึ้นมา 3 นิ้ว        เป็นแมวเหมียวร้องเรียกหา
                         ชูนิ้วขึ้นมา 4 นิ้ว        เป็นแมงมุมไต่ขึ้นบนหลังคา
                                                  ชูนิ้วขึ้นมา 5 นิ้ว        เป็นหลังคาบ้าน เด็กๆได้บ้านหลังน้อยยังคะ


                    เพิ่มเติมคำพูดอาจารย์


                    • ซื้อสมุดลายเส้นมาคัด ก-ฮ คัดอาทิตย์ละ 2 ครั้ง
                    • เราทุกคนต้องรักในสิทธิ์ของตนเอง
                    • จะสอนเพลง พูดคุย ทบทวน คณิตศาตร์อยู่ตรงไหน ?
                    • การสอนทุกครั้งควรมีสื่อมาด้วย ไม่ควรมีแผ่นชาร์ท
                    • ในขั้นนำควรจะมีเพลง คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย 
                    • เห็ดกับผีเสื้อ มีสื่อมาสะท้อนความตั้งใจ
                    • เห็ดมีวิธีการสอนที่โอเค 
                    • เมื่อไม่มีของสด ให้ปริ้นมาและตัดแทน
                    • กล้วย มีความตั้งใจแล้ว แต่การเตรียมและจัดลำดับยังไม่ดี
                    • การที่มีตารางวิเคราะห์ ทำให้เด็กเข้าใจได้มากกว่า เพราะเด็กจะได้เห็นข้อมูลและสามารถดึงมาได้เพื่อที่จะเปรียบเทียบ และเราจะทำงานได้ง่ายและดีขึ้น
                    • ในตารางวิเคราะต่างเหมือน ครูต้องรู้ว่าอะไรควรมาก่อน เรียงจากอะไรก่อน
                    • ไปทำใบตารางการสอนของกลุ่มตัวเองมา เพื่อที่จะง่ายต่อการเช็คข้อมูลว่าใครสอนแล้วบ้าง
                    • แผนเวลาส่งให้ส่งเป็นเล่ม

                    การนำไปใช้

                    1. นำวิธีการการจัดลำดับขั้นตอนในการสอนของวันที่ 2 ไปใช้เพื่อความง่ายและสะดวก แถมยังถูกต้องอีกด้วย 
                    2. การแก้ปัญหาในการที่ไม่มีสื่อ ควรจะทำอย่างไร

                            
                    การประเมิน
                    ตนเอง -  มีความมั่นใจในตนเองในการช่วยเพื่อนสอนเนื่องจากเพื่อนยังสอนไม่เป็น เนื่องจากตนเคยเรียนกับอาจารย์มาแล้วก็พอรู้ว่าควรสอนแบบไหน แต่อาจจะมีผิดบ้างเล็กน้อย แต่ทั้งสิ้นก็ล้วนมาจากความตั้งใจเพื่อตนเองและเพื่อนๆทั้งนั้นค่ะ
                    เพื่อน - มีเพื่อนๆในบางส่วน ที่ยังไม่เคยเรียนกับอาจารย์ทำให้การสอนของเพื่อนยังออกมาไม่ดีตามที่อาจารย์ต้องการ เพื่อนไม่มีสื่อ และเตรียมความพร้อมมายังไม่ดีพอ
                    อาจารย์ -  วันนี้อาจารย์ดูเครียดๆกับการสอนของนักศึกษาปี 4 และก็เข้าใจว่าอาจารย์หวังดีและมีเจตนาที่ดีเพื่อให้นักศึกษาสามารถสอนได้ และอาจารย์ก็คอยให้คำแนะนำตลอด ชี้ทางให้เห็นถึงวิธีการสอนอย่างเป็นลำดับและมีกระบวนการในการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจและนำไปปรับใช้ได้เมื่อต้องออกไปฝึกสอนจริงๆ